CHEF PATHWAY TO PR: เรียนทำอาหารอย่างไรให้ได้พีอาร์
อัปเดตเมื่อ 18 ส.ค. 2564

วงการอาหารนานาชาติกำลังเฟื่องฟูเป็นอย่างยิ่งในประเทศออสเตรเลียและทั่วโลก ทำให้มีการจ้างงานในสาขาอาชีพทำอาหารเพิ่มขึ้น นักเรียนนานาชาติจำนวนมากจึงเลือกมาเรียนการทำครัวเชิงธุรกิจ (Commercial Cookery) และศิลปะการทำอาหาร (Culinary Arts) ที่ประเทศออสเตรเลีย
ขั้นตอนการเรียนทำอาหารเพื่อให้ได้พีอาร์ มีดังนี้
เลือกเรียนหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจาก CRICOS
CRICOS หรือ Commonwealth Register of Institutions and Courses for Overseas Students คือ สถาบันและหลักสูตรที่ได้รับรองจากรัฐบาลออสเตรเลียให้ทำการสอนนักศึกษาต่างชาติด้วย ถ้ามีการรับรองแสดงว่าสถาบันมีความน่าเชื่อถือได้นั่นเอง
น้องๆ สามารถเช็คได้ว่าหลักสูตรที่เราสนใจได้รับการรับรองจาก CRICOS หรือไม่โดยเข้าไปที่ลิ้งค์นี้ “https://cricos.education.gov.au/Course/CourseSearch.aspx”
2. สมัครประเภทวีซ่าสำหรับเชฟที่สามารถขอ PR ได้
ทางเลือกวีซ่าที่น้องๆ สามารถไต่ไปสู่ PR ได้ มีดังต่อไปนี้ ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ ประกอบด้วย
น้องๆ สามารถสมัครวีซ่าดังต่อไปนี้หลังเรียนจบหลักสูตรดิพโพลม่า
สมัคร Graduate Visa (subclass 485)
สมัคร Training Visa (subclass 407)
สมัคร Employer-Sponsored Visa โดยต้องมีประสบการณ์ทำงานร่วมด้วย
สมัคร General Skilled Migration
Graduate Visa (subclass 485)
อายุต่ำกว่า 50 ปี
คะแนนรวม IELTS 6.0 ขึ้นไป
หลักสูตรที่เรียนมีระยะเวลาอย่างน้อย 92 สัปดาห์เป็นต้นไป
ผ่าน skill assessment โดย TRA โดยจะต้องมีการฝึกงานอย่างน้อย 360 กับสถานฝึกงานในออสเตรเลีย
ผู้สมัครต้องตรวจสุขภาพและประวัติอาชญากรรมผ่าน
Training Visa (subclass 407)
วีซ่า subclass 407 เป็นวีซ่าสำหรับการฝึกงาน กับนายจ้างหรือองค์กรที่เขาต้องการจะฝึกเรา
ผู้สมัครต้องหาสปอนเซอร์ที่พร้อมจะฝึกงานให้เรา โดยประเภทของการฝึกงานจะต้องเกี่ยวข้องกับการพัฒนาฝีมือด้านเชฟโดยเฉพาะ
ผู้สมัครต้องตรวจสุขภาพและประวัติอาชญากรรมผ่าน
นายจ้างที่น้องๆ เลือกจะทำงานด้วยนั้นสำคัญอย่างยิ่ง โดยตำแหน่งที่สมัครจะต้องเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก และไม่ใช่ตำแหน่งที่หาคนมาทดแทนได้ง่ายๆ ในร้านอาหาร อาทิเช่น
ธุรกิจฟาส์ตฟู้ดหรือ takeaway
ธุรกิจ fast-casual (กึ่งฟาส์ตฟู้ด กึ่งร้านอาหาร)
ธุรกิจเครื่องดื่มที่ขายอาหารจำกัด
ธุรกิจคาเฟ่และร้านกาแฟ
ธุรกิจร้านพิซซ่า
บทบาทหน้าที่ของเราในร้านอาหารนั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งบทบาทหน้าที่ของเชฟดังนี้
วางแผนด้านเมนูอาหาร ประเมินราคาอาหารและค่าจ้างพนักงาน รวมถึงสั่งซื้อวัตถุดิบสำหรับปรุงอาหาร
ประเมินคุณภาพอาหารทุกขั้นตอน ตั้งแต่การจัดเตรียมไปจนถึงหน้าตาของอาหาร
พูดคุยกับผู้จัดการร้านอาหาร นักโภชนาการ และพนักงานในร้านถึงเรื่องปัญหาต่างๆ ในการจัดเตรียมอาหาร
สาธิตเทคนิคและขั้นตอนในการปรุงอาหาร
จัดเตรียมและปรุงอาหาร
ควบคุมความสะอาดเรียบร้อยภายในร้านอาหาร
คัดเลือกและฝึกสอนพนักงาน
Employer-Sponsored Visa
หากน้องๆ ท่านใดสามารถหานายจ้างที่สปอนเซอร์ PR ได้ น้องๆ ก็อาจจะสมัครวีซ่าประเภทดังต่อไปนี้ได้
TSS Visa (subclass 482):
ต้องได้คะแนน IELTS ขั้นต่ำ 5.0
มีประสบการณ์เป็นเชฟอย่างน้อย 2 ปี
ได้รับค่าจ้างอย่างน้อย AUD $53,000 ต่อปี และค่าจ้างต้องเป็นไปตามมาตรฐานตลาดแรงงาน
สมัคร skills assessment
Employer-Sponsored (subclass 494) - Regional
อายุต่ำกว่า 45 ปี
มีประสาบการณ์เป็นเชฟอย่างน้อย 3 ปี
ผ่าน skills assessment
สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้
ตรวจสุขภาพและประวัติอาชญากรรมผ่าน
หลังจากได้รับวีซ่าตัวนี้แล้ว 3 ปี น้องๆ ก็จะสามารถสมัคร PR ได้ผ่านวีซ่า 191
Employer-Sponsored (subclass 186) - TRT
อายุต่ำกว่า 45 ปี
มีประสาบการณ์เป็นเชฟอย่างน้อย 3 ปี
ผ่าน skills assessment
สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้
ตรวจสุขภาพและประวัติอาชญากรรมผ่าน
Direct Entry Stream (subclass 186)
อายุต่ำกว่า 45 ปี
มีประสาบการณ์เป็นเชฟอย่างน้อย 3 ปี
ผ่าน skills assessment
สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้
ตรวจสุขภาพและประวัติอาชญากรรมผ่าน
General Skilled Migration
วีซ่าย้ายถิ่นฐานที่มีทักษะ (General Skilled Migration) คือวีซ่าที่ออกให้สำหรับอาชีพที่มีทักษะและมีส่วนพัฒนาประเทศให้อาศัย และทำงานในออสเตรเลียได้เต็มเวลา Full-Time โดยไม่ต้องมีนายจ้างสนับสนุน เพื่อให้มีคุณสมบัติในการขอวีซ่าประเภทนี้ ผู้สมัครจะต้องเรียน และทำงานในสายงานที่อยู่ในรายชื่ออาชีพทักษะ MLTSSL ดังนั้น หากผู้สมัครวีซ่า เรียนหลักสูตร Diploma of Business จะไม่สามารถขอสมัครวีซ่าประเภทนี้ได้ เนื่องจาก อาชีพหลังเรียนจบ ไม่อยู่ในรายชื่ออาชีพทักษะ MLTSSL
นอกจากนี้ ไม่เพียงแค่เรียนจบ และทำงานในสายงานที่อยู่ในรายชื่ออาชีพทักษะ MLTSSL เท่านั้น ผู้สมัครจะต้องผ่านการประเมิน Job Ready Program (JRP) เพื่อประเมินว่าเหมาะสำหรับที่จะได้รับการเสนอชื่อหรือไม่ ซึ่งผู้สมัคร จะต้องมีผลการประเมิน JRP อย่างเป็นทางการจาก TRA ก่อน จึงจะสามารถขอวีซ่าย้ายถิ่นฐานที่มีทักษะ General Skilled Migration ได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
Skilled Independent Visa (189) เป็นวีซ่าย้ายถิ่นฐานถาวรที่มีทักษะทั่วไป อนุญาติให้สามารถประกอบอาชีพ และพำนักในออสเตรเลียได้อย่างถาวร นอกจากนี้ ยังได้รับสวัสดิการขั้นพื้นฐานของออสเตรเลีย เช่น ประกันสังคม ประกันสุขภาพ และการเข้าเรียนโรงเรียนรัฐสำหรับบุตร (คลิก เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม)
Skilled Nominated Visa (190) เป็นวีซ่าย้ายถิ่นฐานถาวรที่ต้องได้รับการเสนอชื่อโดยรัฐบาล อนุญาติให้สามารถประกอบอาชีพ และพำนักในออสเตรเลียได้อย่างถาวร โดยผู้ที่ถือวีซ่าจะได้รับเสนอชื่อเข้าทำงานในอาชีพที่อยู่ในรายชื่อ State Occupation List (SOL) หากมีการขาดแคลนอาชีพนั้นๆ ซึ่งเมื่อได้รับเสนอชื่อให้ทำงาน Skilled Nominated Visa (190) จะต้องทำงาน และอาศัยอยู่ในรัฐนั้น เป็นระยะเวลา 2 ปี โดยสิทธิ์ประโยชน์ จะได้รับเช่นเดียวกับ
Skilled Independent Visa 189
Regional Nominated Visa (491) เป็นวีซ่าย้ายถิ่นฐานที่อาศัยและทำงานในเขตพื้นที่ภูมิภาคของออสเตรเลีย (Regional) หรือพื้นที่ภูมิภาคคือเมืองใดๆ ในออสเตรเลีย ยกเว้นซิดนีย์ เมลเบิร์น หรือบริสเบน โดยผู้ที่ถือวีซ่าจะได้รับเสนอชื่อเข้าทำงานในอาชีพที่อยู่ในรายชื่อ State Occupation List (SOL) หากมีการขาดแคลนอาชีพนั้นๆ วีซ่าประเภทนี้มีระยะเวลา 5 ปี และสามารถขอเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร Permanent Residency ได้ หลังจาก 3 ปีนับจากวันที่ได้รับวีซ่า
*วีซ่าเหล่านี้จะอาศัยการนับแต้ม โดยแต้มต่ำสุดที่ควรจะได้ คือ 65 แต้ม*
1. ช่วงอายุที่ต่างกันจะได้คะแนนต่างกันไปด้วย
18 - 24 ได้ 25 แต้ม
25 - 32 ได้ 30 แต้ม
33 - 39 ได้ 25 แต้ม
40 - 44 ได้ 15 แต้ม
โดยช่วงอายุ 25-32 ปี จะได้ คะแนนสูงสุดคือ 30 แต้ม เพราะรัฐถือว่าเป็นคนที่อยู่ในช่วงวัยทำงาน มีความสามารถในการส่งเสริมเศรษฐกิจของออสเตรเลียและเสียภาษี
2. ทักษะภาษาอังกฤษดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
Proficient English: IELTS 7 (general) each band/OET B หรือเทียบเท่าได้ 10 แต้ม
Superior English: IELTS 8 (general) each band/OET A หรือเทียบเท่าได้ 20 แต้ม
*Competent English: IELTS 6 (general) each band/OET B หรือเทียบเท่าสามารถสมัคร Skilled Migrant ได้ แต่ไม่มีแต้มให้
3. ประสบการณ์การทำงานจากประเทศอื่น
เงื่อนไข คือ ต้องทำงานเกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับสาขาอาชีพที่ขอ PR และเป็นประสบการณ์หลังจากที่เรียนจบเท่านั้น ทำงาน 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ขึ้นไป การนับแต้ม คือ
3 ปี แต่น้อยกว่า 5 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ได้ 5 แต้ม
5 ปี แต่น้อยกว่า 8 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ได้ 10 แต้ม
8 - 10 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ได้ 15 แต้ม
ดังนั้น จดหมายผ่านงาน (work reference) ที่ระบุว่าทำตำแหน่ง หน้าที่ และวันเริ่ม - สิ้นสุดการทำงานวันที่เท่าไรจึงสำคัญมาก
4. วุฒิการศึกษา
โดยวุฒิจากประเทศใหนก็ได้แต่ต้องได้มาตฐานของประเทศออสเตรเลีย นับคะแนนจากการศึกษาที่สูงที่สุด (ไทยได้มาตรฐานของประเทศออสเตรเลียทุกสถาบัน)
ปริญญาเอกได้ 20 แต้ม
ปริญญาตรี-ปริญญาโทได้ 15 แต้ม
Diploma, ปวช-ปวสได้ 10 แต้ม
5. เรียนในประเทศออสเตรเลีย
ไม่ว่าจะลงเรียนหลักสูตรอะไร หากน้องๆ เรียนหลักสูตรนั้นอย่างน้อย 2 ปี (ไม่นับเรียนภาษาอังกฤษ) จะได้ 5 แต้ม
6. สถานะโสด
คนโสดได้ 10 แต้ม
ถ้ามีคู่ชีวิต ภาษาดี ก็มีส่วนช่วยได้อีก 5 แต้ม
7. ล่าแต้มอื่นๆ เช่น<